วันศุกร์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทินครั้งที่ 16

บันทึกอนุทิน
27/09/56
ครั้งที่ 13 เวลาเรียน 13:10 - 16:40 น.

วันนี้อาจารย์ได้แจกกระดาษและสี พร้อมให้เขียนหัวข้อเรื่องว่า ความรู้ที่ได้รับจากวิชาการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย

สิ่งที่ได้รับก็มีหลายอย่างดังภาพและข้อความที่เขียนไว้ในกระดาษ😊😊😊


จากนั้นอาจารย์ก็ได้ให้ส่งกระดาษที่เก็บคะแนนเข้าเรียน



จากนั้นอาจารย์ก็ได้ให้รางวัลคนที่ได้คะแนนเข้าเรียนมากที่สุด😍😍😍


จากนั้นอาจารย์ก็ได้บอกแนวข้อสอบ✌️✌️✌️

วันศุกร์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทินครั้งที่ 15

บันทึกอนุทิน

20/09/56
ครั้งที่ 12 เวลาเรียน 13:10 - 16:40 น.


วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาร่วมทำกิจกรรมในห้องเรียน โดยให้แบ่งเป็นกลุ่มๆ และออกมานำเสนอหน้าชั้นเรียน

เพื่อนๆในห้องต่างตั้งใจช่วยกันทำิย่างสนุกสนาน😊😊😊





กลุ่มต่างๆ ได้ออกมานำเสนอ






 
นี้คือผลงานกลุ่มของดิฉัน😘😘😘


วันพฤหัสบดีที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทินครั้งที่ 14

บันทึกอนุทิน
13/09/56
ครั้งที่ 11 เวลาเรียน 13:10 - 16:40 น.

 
 
   
             วันนี้อาจารย์เบียร์ได้แจกอุปกรณ์และกระแผ่นใหญ่โดยให้นักศึกษาให้แต่ละกลุ่มแบ่งกลุ่มละเท่าๆกัน และให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มคิดมุมต่างๆ ในห้องเรียนช่วยกันแล้ววาดภาพระบายสีให้สวยงาม พร้อมนำเสนอหน้าชั้นเรียนในชั่วโมง
 
 
 
 
แต่ละกลุ่มก็ได้ช่วยกันอย่างตั้งอกตั้งใจทำ
 
 
 
 
 เพื่อนๆ ทุกคนในห้องเรียนพร้อมใจกันนั่งฟังเพื่อนๆ แต่ละกลุ่มนำเสนอหน้าชั้นเรียน
 
 
กลุ่มของดิฉันเอง
 

นี้คือผลงานของกลุ่มดิฉันค่ะ
 
 

 
                                                                                                                                                        
 
 
 
 


 
 
 
 

 


วันพฤหัสบดีที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทินครั้งที่ 13

บันทึกอนุทิน
06/09/56
ครั้งที่ 10 เวลาเรียน 13:10 - 16:40 น.


การจัดสภาพแวดล้อมเพื่อส่งเสริมประสบการณ์ทางภาษา
 
 
 
 

-สร้างสภาพแวดล้อมให้สอดคล้องกับการเรียนรู้ของเด็กให้คุ้นเคยและควรใช้แบบองค์รวม


-เด็กได้ทำกิจกรรมที่ส่งเสริมทักษะทางภาษาโดยไม่เน้นเนื้อหาทางภาษามากเกินไป

 

 
 
 


หลักการ
 
 
 
 
 
- สอดคล้องกับวิธีการเรียนรู้ของเด็ก เหมาะกับเด็ก ส่งเสริมให้เด็กลงมือกระทำด้วยตนเอง เด็กจะได้    
ซึมซับผ่านการเล่นผ่านความสนุกสนาน เด็กต้องใช้การสังเกต ตั้งสมมุติฐาน ให้เด็กเกิดความสงสัย

- ต้องจัดสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมการมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อน ครู โดยการทำงานเป็นกลุ่ม เด็กควรได้       
สื่อสารทั้ง 2 ด้าน ทั้ง ถามและตอบ

- สิ่งแวดล้อมเราควรเน้นเด็กให้มีความหมาย เด็กต้องรู้ว่ามุมๆนั้นคืออะไร และควรยอมรับการสื่อสาร    
ของเด็ก เพราะเด็กอาจสื่อสารผิดๆ

- สิ่งแวดล้อมรอบห้องไม่ควรจำกัดแค่คำพูด แต่เราควรคำนึงถึงอย่างอื่นด้วย เช่น การเล่น การแสดง        
บทบาทสมมุติ หรือการจัดที่หลากหลาย (หน้าที่ของครู คือ คอยส่งเสริมหลายรูปแบบ)
 
 
 
 
มุมประสบการณ์ทางการเรียนรู้  สาระทางภาษา
 
 
 
 
- มุมหนังสือ ควรมีชั้นวางที่เหมาะสมกับวัย บรรยากาศเงียบสงบ มีพื้นทีทั้งแบบตามลำพังและแบบ
กลุ่ม   มีอุปกรณ์ครบ เช่นอุปกรณ์การเขียน

- มุมบทบาทสมมุติ ควรมีสื่อที่สามารถให้เด็กเข้าเล่นได้ มีพื้นที่เพียงพอ

- มุมศิลปะ ควรจัดอุปกรณ์ที่หลากหลาย เช่น ดินสอ สี ยางลบ กระดาษ เพื่อให้เด็กสร้างงานจาก   
 จินตนาการของเขา

- มุมดนตรี มีเครื่องดนตรีทั้งที่เป็นของจริงและของเล่น เช่น ขลุ่ย ฉิ่ง กรับ เพื่อให้เด็กสามารถเรียนรู้    ภาษาจากเสียงของดนตรี
 
 
 

 
ลักษณะการจัดมุมในห้องเรียนเพื่อส่งเสริมทักษะทางภาษา
 
 
 
 
- มีพื้นที่ให้เด็กทำกิจกรรมได้อย่างสะดวก
 
 
- ทำให้เด็กเกิดความผ่อนคลายเมื่อเข้าไปเล่น
 
 
- บริเวณใกล้ๆควรมีอุปกรณ์ให้เด็กในการออกแบบ
 
 
- เด็กต้องมีส่วนร่วมและวางแผนในการจัดมุมนั้นด้วย
 
 
 


 
จากนั้นอาจารย์ก็ได้ให้ทำกิจกรรมในห้องเรียน
 
 
คัด ก - ฮ
 
 
 
 
 
 


 

บันทึกอนุทินครั้งที่ 12

บันทึกอนุทิน
30/08/56
มีการเรียนการสอน
 
                                         หมายเหตุ   :  มาเรียนไม่ได้เนื่องจากป่วยเป็นไข้ไม่สบาย  จึงหยุดพักการเรียนหนึ่งวัน คือ วันที่ 30 เดือน กันยายน พ.ศ.2556
 
 
 

วันพฤหัสบดีที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทินครั้งที่ 11

บันทึกอนุทิน
23/08/56
ครั้งที่ 9 เวลาเรียน 13:10 - 16:40 น.


วันนี้อาจารย์ได้พูดสื่อในการเรียนรู้ของภาษา ว่าเป้นยังไงมีอะไรบ้าง และจากนั้นก็ได้อธิบาย
 
 
 
 
 
สื่อในการเรียนทางภาษา
 
 
ความหมาย
 
- วัสดุอุปกรณ์หรือวิธีการต่างๆ
- เพื่อกระตุ้น ส่งเสริม จูงใจ ให้เด็กเกิดความสนใจ
- ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้ทางภาษา
- เครื่องมือที่ครูกำหนดขึ้นเพื่อถ่ายทอดแลกเปลี่ยนเนื้อหา ประสบการณ์ แนวคิด ทักษะ เจตคติ
 
 




ความสำคัญของสื่อการเรียนรู้ทางภาษา
 
- เด็กเรียนรู้ได้ดีจากประสาทสัมผัส
- เข้าใจได้ง่าย
- เป็นรูปธรรม
- จำได้ง่าย รวดเร็ว และนาน

 

 
 
ประเภทของสื่อการสอน
 
1.   สื่อสิ่งพิมพ์
 คือ ใช้ในระบบการพิมพ์ เด็กได้เรียนรู้ตัวอักษร การใช้คำ ประโยค ยกตัวอย่างเช่น หนังสือนิทาน หนังสือพิมพ์ ป้ายต่างๆ  หรือแบบฝึกหัดสำหรับเด็ก
 
 
2.   สื่อวัสดุอุปกรณ์
คือ สิ่งของต่างๆ กระเป๋าที่เป็นทั้งของจริง หุ่นจำลอง แผนที่ แผนภูมิ สมุด หุ่นมือ ถือว่ามีประโยชน์ต่อการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัยเป็นอย่างยิ่ง
 
 
3.   สื่อโสตทัศน์อุปกรณ์ 
คือ สื่อที่เป็นเครื่องมืออุปกรณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวกับทางอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องเล่นแผ่น
 
 
4.    สื่อกิจกรรม
คือ  ฝึกปฏิบัติ ทักษะ ได้ใช้กระบวนการคิด ได้เผชิญสถานการณ์ เช่น การร้องเพลง การเล่นละคร บทบทาสมมุติสำหรับเด็ก
 
 
5.    สื่อบริบท 
คือ เพื่อส่งเสริมการจัดประสบการณ์ในสภาพแวดล้อมที่เด็กอยู่ เช่น ชุมชน ครอบครัว โรงเรียน วัฒนธรรม เด็กที่อยู่ในท้องที่ ที่แตกต่างกัน ก็จะมีสื่อบริบทที่แตกต่างกันออกไป
                                                                    
 
 

 
 
 
กิจกรรมต่อมาอาจารย์ได้ให้ลองฟังเสียงต่างๆแล้วหาว่าเสียงนั้นคืออะไร
 
- การฟังเสียงสัตว์
- ฟังเสียงเครื่องดนตรีสากล
             
กิจกรรมต่อมาการทำสื่อป๊อปอัพเพื่อพัฒนาภาษาเด็กได้
 


 
 



 

 

 
 


 
 
 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 


วันพฤหัสบดีที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทินครั้งที่ 10

บันทึกอนุทิน
16/08/56
ครั้งที่ 8 เวลาเรียน 13:10 - 16:40 น.

 
วันนี้อาจารย์ให้ช่วยกันทำสื่อการเรียนโดยให้จับเป็นกลุ่มๆ
 
สื่อที่อาจารย์ให้ทำมีดังนี้
 
 
1.การทำหุ่นนิ้วมืออาเซียน ซึ่งกลุ่มของดิฉันได้เป็นคนทำ
 
2.การทำธงจับคู่อาเซียน
 
 
3.POP UP สัตวอ้าปากเกี่ยวกับอาเซียน
 
 
4.ธงอาเซียนชักภาพได้